วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เมื่อคนเรารักกัน...เราไม่ได้เล่นเกม ไม่ใช่...เล่นหมากรุกที่ต้องมองเชิงกันก่อน ไม่ใช่...เล่นวิ่งไล่จับคนหนึ่งหนีคนหนึ่งวิ่งตาม ไม่ใช่...เล่นซ่อนหาต้องตามจิกตามหาตลอดเวลา ไม่ใช่...เล่นโยนเหรียญสุ่มเอาว่าจะหัวหรือก้อย
เมื่อเรารักกัน...เราไม่ได้ทดลอง action = reaction เวลาเราให้เค้าไป...ไม่จำเป็นว่าต้องได้รับกลับ เวลาเค้าโมโหใส่...ไม่จำเป็นต้องโมโหกลับ เวลาเค้าทำไม่ดีกับเรา...ไม่จำเป็นต้องทำบ้าง เวลาเค้าไม่ทำดีให้...ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรทำให้เค้า
เมื่อเรารักกัน...เราไม่ได้ทดสอบทฤษฎี Demand & Supply ไม่เสมอไป...ที่ต้องการความรักมาก ๆ แล้วเค้าจะมีให้เราน้อย ไม่เสมอไป...ที่ให้ความรักเค้ามาก ๆ แล้วราคาความรักจะต่ำ ไม่เสมอไป...ที่จะมีจุดที่ความต้องการเท่ากับความรักที่ให้
เมื่อเรารักกัน....
ไม่จำเป็น...ต้องหาเหตุผลให้กับเหตุการณ์ทุกอย่าง
ไม่จำเป็น...ต้องกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
ไม่จำเป็น...ที่ต้องบอกเค้าว่า "
เค้าคงไม่เห็นคุณค่าของสิ่งของที่เค้ามีถ้าเค้ายังไม่เสียมันไป"
รักกันไม่จำเป็นต้องขู่กันเรื่องความสำคัญ
รู้อยู่ในใจก็พอ...ว่าเรารักกัน
จำไว้ให้แน่นใจ...กับเรื่องดี ๆ ที่เค้าพูด
จำไว้ให้อบอุ่นใจ...กับสิ่งดี ๆที่เค้าทำให้เรา
ค้นมันออกมาเวลาเหงาใจ
ค้นมันออกมาเวลาไม่มั่นใจ
ค้นมันออกมาเวลาเสียใจ
เพราะว่าเวลาใจเราอ่อนแอ
สิ่งดี ๆ ของเราสองคนมักจะหายไป
อย่าปล่อยให้มันหายไป....เพราะ
คนที่เค้าเคยทำให้เราอาจจะเสียใจ
ที่เราหลงลืมเรื่องดี ๆ เหล่านั้นแล้ว
Keep asking all the time
...เมื่อเรารักกัน....ไม่มีนิยามของแต่ละคู่....
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ที่ใดมีรัก..ที่นั้นมีทุกข์..จริงหรือ?
ที่ใดมีรัก...ที่นั้นมีทุกข์ ได้ยินประโยคนี้ทีไรทำให้รู้สึกว่า มันยอมไม่ได้จริงๆ ที่จะมาโทษความรักว่าเป็นต้นเหตุของความทุกข์
ที่ใดมีรัก...ที่นั้นมีทุกข์ ช่วยอ่านกันใหม่อีกครั้ง แล้วพิจารณาด้วยใจ ว่าจริงๆแล้วเราทุกข์เพราะอะไร .... ใบ้ให้ก็ได้จากตัวเรานี่แหละ
เคยได้ยินประโยคของเพลงนี้หรือเปล่า.......“ดั่งในใจความบอกในกวี ว่าตราบใดที่มีรักย่อมมีหวัง”
ความหวังนี่เองที่ทำให้เราทุกข์ได้มากมายขนาดนี้...งง ล่ะสิ
“ที่ใดมีรัก...ที่นั้นมีความหวัง...ที่ใดมีความหวังที่นั้นมีทุกข์” นี่คือนิยามความรักของแอ้มเอง
“ความหวัง”ทำให้คนเรารู้สึกเป็นทุกข์....หวังทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจ....หวังลมๆแล้งๆ เหมือนการคอยฝนในหน้าแล้ง
อย่าบอกเชียวนะ ว่าคุณมีความรักที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน หากคุณรักคนๆหนึ่ง คุณก็หวังที่จะให้เขารักตอบ
“สักนิด” “สักครั้ง ก็ยังดี” “ขอเพียงแค่นั้น” คุ้นๆหูคุ้นๆตาใช่ไหม เหล่านี้เป็นกำแพงที่เราสร้างขึ้น เพื่อยับยั้งความต้องการของเราเอง การยับยั้งความต้องการมันทรมานนะ คุณไม่รู้สึกเหรอ
มันเป็นความทรมานจากการห้ามความรู้สึกตัวเอง หลอกตัวเองว่าอย่ารักมากไปกว่านี้เลย ทั้งๆที่ความจริงก้อรักไปแล้วหมดหัวใจ
รักและคิดถึง เมื่อรักแล้วก้อต้องคิดถึง เวลาที่คิดถึงคุณมีความสุขหรือเปล่า ความคิดถึงกับความโหยหา ต่างกันตรงไหน? เวลาที่เราคิดถึงใคร
เราแอบคิดเสมอว่าเค้าจะคิดถึงเราอยู่บ้างไหม หรือคุณไม่เคยคิด
รู้สึกยังไงล่ะ.... ทรมานใช่ไหม ไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่รู้ ว่าหวังแล้วจะมีผลอย่างไร เราก็จะทุกข์ตั้งแต่เราเริ่มหวังแล้ว เพราะความหวังมันจะมาพร้อมกับความกังวล และความไม่มั่นใจในสิ่งนั้น
หวังมาก ทุกข์มาก หวังน้อยทุกข์น้อย
ความหวังทำให้ชีวิตมีพลังใจ...ความหวังในความรัก... ทำให้เราตั้งใจเรียนผิดปกติ(ทุกข์นะเนี่ย ปวดหัวจะแย่)
ความหวังทั้งๆที่รู้ว่ามันไม่มีวันสมหวัง....ทำให้เราทรมานแทบขาดใจ
ความรักเป็นสิ่งสวยงาม....ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการที่ทำให้เรามีความทุกข์ ......
แล้วไอ้คำว่า ที่ใดมีรัก..ที่นั้นมีทุกข์นั้นจริงหรือ??? คำตอบทั้งหมดน่าจะอยู่ที่ใจคุณแล้วล่ะ
มีกันและกันตลอดทา
เรื่องมันมีอยู่ว่า
ขณะที่พิกเล็ตเดินตามหมีพูห์ไปต้อยๆรอยเท้าคู่เล็กๆย่ำไปบนหิมะเคียงข้างกับรอยเท้าของพูห์ไปตลอดทาง
เป็นความอบอุ่นในหัวใจที่ทั้งสองทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง
ทั้งคู่คงเดินมาด้วยกันนานพอสมควร
และคงไม่ได้คุยอะไรกันเลย
พิกเล็ตเลยต้อง"ขอเสียง"ด้วยการเรียก"พูห์"เมื่อพูห์ขานรับและถามกลับว่า"มีอะไรหรือพิกเล็ต"พิกเล็ตกลับเกาะมือพูห์ไว้
ก่อนตอบว่า"เปล่า...ไม่มีอะไร
แค่อยากมั่นใจว่าเราเดินมาด้วยกันเท่านั้นเอง" ภาพนี้
ถ้อยสนทนานี้
เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง
สังเกตไหมว่าพูห์เดินนำหน้าควรเป็นพูห์มากกว่าที่น่าจะเป็นฝ่าย"ขอเสียง"จากพิกเล็ตว่ายังเดินตามตัวเองมาหรือไม่
นั่นหมายถึงว่าเป็นความรักกังวลในใจพิกเล็ตเองที่เกรงว่าพูห์จะลืมเพื่อนตัวเล็กๆอย่างเขา
ในชีวิตเราทุกคนคงเคยผ่านพบมิตรภาพแสนดี
แต่มีกี่คนที่รักษามันเอาไว้ได้คงมั่นไม่หวั่นไหว
วันคืนแห่งชีวิตกลืนกินและฉุดดึงเรารุดไป
หันกลับมามองข้างหลังอีกที อาจจะเศร้าใจ
หากพบว่าคนที่เราไว้ใจ
ไม่เดินตามเรามาอีกแล้ว
ไม่อยากเดินข้างหน้าเพราะเกรงว่าฉันจะลืมเธอ
ไม่อยากตามหลังเช่นกัน
อยากอุ่นใจมั่นใจว่าตลอดการเดินทางชีวิต
อันยาวไกลเรายังมีกันและกันไปตลอดทาง
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ชูสองนิ้ว
เคยสัยรึเปล่าคะว่าทำไม เวลาที่เราต้องการให้กำลังใจใครหรือให้กำลังใจตัวเอง (ประมาณว่า "สู้ๆ สู้ตาย")
หรือแม้กระทั่งเวลาถ่ายรูปกับเพื่อนเราจะต้องมีท่าบังคับอย่างท่า "สู้ตาย" ชู 2 นิ้ว อยู่เสมอ... ทำไมต้องชูสองนิ้วด้วยล่ะ ชูสามนิ้วไม่ได้เหรอ???
สำหรับการชู 2 นิ้ว หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า "V sign" นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในความหมายของ "ชัยชนะ" คือ V แทนคำว่า Victory ค่ะ ถ้าน้องๆ ลองไปเปิดดูอัลบั้มรูปเก่าๆ ของตัวเองน้องๆ จะพบว่าตั้งแต่เราเกิดมาเราถ่ายภาพด้วยท่าชู 2 นิ้วไว้มากมายโดยที่เราไม่รู้ตัว คิดอะไรไม่ออกก็ชู 2 นิ้วไว้ก่อนแล้วกัน ^^
นอกจากนี้การชูสองนิ้วยังหมายถึง "สันติภาพ" และ "การดูถูกท้าทาย" ได้อีกด้วย ...โดยหากเราไปแสดงอากัปกิริยาด้วยการ ชูสองนิ้วแต่หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง ในสหราชอาณาจักรอย่างอังกฤษ สกอตแลนด์แล้ว ถือว่าเป็นการแสดงท่าทางดูถูกต่อว่าอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ค่ะ
โดยความหมายของการทำเช่นนี้นั้น จะเหมือนกับการที่เราไปทำท่าที่หยาบคายอย่างการ "ชูนิ้วกลาง" (The Finger) ให้คนอื่นเลยทีเดียว ซึ่งพฤติกรรมนี้ถือว่าร้ายแรงและเป็นการเสียมารยาทเป็นอย่างมากเลยล่ะ
ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา การชู 2 นิ้วนั้นจะใช้กันในความหมายที่ว่า เป็นการแสดงสันติภาพมากกว่า โดยเริ่มได้รับความนิยมมาจากการที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิด สันติภาพในช่วงทศวรรษที่ 1960
สำหรับประเทศในทวีปเอเชียนั้น ส่วนใหญ่จะใช้กันตอนถ่ายรูปโดยไม่ได้มีความหมายอะไรซ่อนอยู่เลย (กลายเป็นท่าฮิตไปซะอย่างงั้น -..-”) แต่ในเวลาต่อมา ผู้คนนอกทวีปเอเชียเริ่มหันมาชู 2 นิ้วตอนถ่ายรูปกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากบรรดาการ์ตูนของญี่ปุ่นที่ไปได้รับความ นิยมในประเทศอื่นๆ นั่นเอง
นอกจากนี้บางคนยังเชื่อว่า การที่ชาวญี่ปุ่นนิยมชู 2 นิ้วนั้นต้องการสื่อถึงเรื่องสันติภาพ หลังจากที่ญี่ปุ่นโดนบอมบ์ด้วยระเบิดปรมณูไป (และที่สำคัญหลายคนมักจะคิดว่าการชูสองนิ้วถ่ายรูปนั้นจะทำให้ตัวเองน่ารัก เหมือนสาวญี่ปุ่น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วท่านี้ก็ไม่ได้ทำให้คนดูดีทุกคนหรอกค่ะ 55)
สำหรับจุดเริ่มต้นของการชู 2 นิ้วนั้น ไม่มีการบันทึกเอาไว้อย่างแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่ก็เป็นที่เชื่อกันมาอย่างยาวนานว่า จุดเริ่มต้นของการชู 2 นิ้วนั้น เริ่มจากพลธนูชาวเวลส์ ที่ต่อสู่ร่วมกับอังกฤษในการสู้รบที่หมู่บ้านอกินคอร์ต ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1415 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งมีการกล่าวไว้ว่า ทหารฝรั่งเศสจะตัดนิ้วมือข้างขวาของพลธนูชาวเวลส์ที่ถูกจับตัวได้ไป 2 นิ้ว จนไม่สามารถยิงธนูได้อีก ด้วยเหตุนี้ บรรดาพลธนูชาวเวลส์ที่ยังไม่ถูกจับตัวจึงชูนิ้ว 2 นิ้วเป็นการดูถูกท้าทายทหารของฝรั่งเศส
ไม่น่าเชื่อเลยนะคะเนี่ยว่าท่าชู 2 นิ้ว ที่เราใช้เป็นท่าบังคับในการถ่ายรูปกัน จะมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานขนาดนี้แถมยังมีความหมายที่ลึกซึ้งและยิ่ง ใหญ่อีกต่างหาก... ว่าแต่ต่อไปนี้เวลาจะชู 2 นิ้ว ก็ระวังหน่อยแล้วกันนะคะ อย่าชูผิดด้านล่ะไม่อย่างนั้นล่ะ มีเรื่องแน่ค่ะ 555+